ทานอาหารให้ถูกวิธี ดีต่อสุขภาพ

1. ต้องกินให้ได้สารอาหารครบถ้วน

ร่างกายมนุษย์ต้องการสารอาหารทั้ง 5 หมู่ในปริมาณที่เหมาะสม ได้แก่
          หมู่ที่ 1 (โปรตีน) - เนื้อสัตว์ ไข่ นม และถั่วเมล็ดแห้ง
          หมู่ที่ 2 (คาร์โบไฮเดรต) - ข้าวแป้ง น้ำตาล เผือก มัน
          หมู่ที่ 3 (วิตามิน+แร่ธาตุ) ผักต่างๆ
          หมู่ที่ 4 (วิตามิน+แร่ธาตุ) - ผลไม้ต่างๆ
          หมู่ที่ 5 (ไขมัน) - น้ำมัน และไขมัน จากพืชและสัตว์
2. ต้องกินอาหารให้หลากหลาย

การกินอาหารหลายๆชนิดทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารต่างๆครบถ้วนในปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการ ดังนั้น ในแต่ละวันควรมีผลัดเปลี่ยนเมนูอาหารบ้าง เพื่อได้รับสารอาหารที่หลากหลาย และ ครบถ้วน
3. พยายามงดอาหารประเภททอด

หากเราไปซื้ออาหารจากข้างนอก เช่น ไก่ทอด ร้านส่วนใหญ่จะทอดจากน้ำมันหมู น้ำมันปาล์ม ไขมันเนย ซึ่งไขมันอิ่มตัวจำพวกนี้ จะเข้าไปเพิ่มระดับของคอเลสเตอรอล หากมีคอเลสเตอรอลอยู่ในร่างกายมากและสะสมมานานมากเกินไป จะทำให้เสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดตัน ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งหลายชนิด
4. ต้องกินช้า ๆค่อยๆกิน

การเคี้ยวอาหารให้ละเอียดจะทำให้ลำไส้ดูดซึมได้ดี หากเคี้ยวอย่างหยาบๆ แล้วรีบกลืนอาหารจะไม่ย่อยหรือย่อยได้ไม่หมด
5. เสริมกรดแลคติก (Lactic acid) เป็นประจำ
การรับประทานอาหารที่ประกอบด้วยกรดแลคติกจะช่วยในการรักษาสมดุลในระบบทางเดินอาหาร ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรคในระบบทางเดินอาหาร โดยป้องกันการสัมผัสระหว่างเชื้อก่อโรคกับผนังลำไส้  
6. ทานอาหารที่มีเส้นใยอาหาร 

อาหารมีผลต่อจุลินทรีย์ในลำไส้ การรับประทานอาหารที่มี ‘เส้นใย’ จึงเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยในเรื่องระบบย่อยอาหารให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยเส้นใยอาหารแบ่งออกเป็น2ประเภทได้แก่
     
– เส้นใยอาหารชนิดละลายในน้ำ
     
– เส้นใยอาหารชนิดไม่ละลายในน้ำ

ทำไมจำนวนผู้ป่วยโรคเรื้อรังในปัจจุบันเพิ่มขึ้น
​คนในปัจจุบันเริ่มละเลยในเรื่องการกินและการดำรงชีวิต และใช้ชีวิตอย่างไม่ระมัดระวังมากขึ้น จนทำให้ร่างกายสะสมมาเรื่อย ๆเป็นเวลานาน และ ก่อให้เกิดโรคเรื้อรังแบบไม่รู้ตัว สิ่งอำนวยความสะดวกในปัจจุบัน ทำให้เราใช้ชีวิตสบายขึ้น ทำให้การเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลงและรับประทานอาหารมากเกินความต้องการของร่างกาย เช่น ทานอาหารรสจัด อาหารที่มีไขมันสูง หรือ ดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่มาเป็นเวลานาน ผสมกับการพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ หรือมีความเครียด จนสะสมในร่างกายมากเกินไปและก่อให้เกิดโรคที่ตามมา เช่น โรคเบาหวาน โรคไต โรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วน โรคหัวใจ เป็นต้น กลุ่มโรคเรื้อรัง สามารถป้องกันได้ง่ายๆ โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน หรือ การดำรงชีวิตใหม่ หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ หรือ อยู่ใกล้มลพิษ เลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ และหมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ